สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็เจอกันอีกครั้งนะคะ ในวันนี้จะพาเพื่อนๆมาเปลี่ยนพัดลม
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power
Supply) กันนะคะ ตอนแรกก็คิดว่าต้องเปลี่ยนยากแน่ๆเลย
พอลองทำแล้วเปลี่ยนไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลาย
(Power Supply) เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันสักหน่อยนะคะ
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง
มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้)
ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220
โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์
เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์
เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
2. ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด
ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน
เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง
ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง
นี้ก็คือน่าตาของ Power Supply ค่ะ
แกะน็อตและฝาครอบออกให้เรียบร้อยก่อนนะค่ะ
สายต่อพัดลม คือ สายสีแดงและสีดำ เราก็ทำการละลายตะกั่วทั้งสายสีแดงและสีดำเลยนะคะ
เราต้องจำด้วยนะคะ
ว่าสายไฟสีไหนอยู่ด้านไหนเพื่อไม่ให้เครื่องเสียหายค่ะ
ละลายตะกั่วเครื่องเราเสร็จแล้วนะคะ
หลังจากที่เราได้เปลี่ยนกับเพื่อนและบัดกรีเข้ากับแผงวงจร
ตรวจสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ด้วยการใช้แหนบเป็นตัวนำไฟฟ้า
ปรากฏว่า power
supply ใช้งานค่ะ
เห็นไหมละคะว่าการเปลี่ยน power supply ไม่ยากอย่างที่เราคิดเลย แค่เราทำตามขั้นตอนเราก็สามารถทำการเปลี่ยนเองได้
ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ
สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ แล้วเจอกันใหม่บล็อคหน้านะคะ
ตัวจริง อ้วนเหมือนในรูปมั๊ยคะ
ตอบลบ