วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในพาวเวอร์ซัพพลาย

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ
วันนี้เราจะมาทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าในพาวเวอร์ซัพพลาย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับมัลติมิเตอร์ (Multimeter) กันก่อนนะคะ
มัลติมิเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น
มัลติมิเตอร์เป็นการรวม Voltmeter, Ammeter และ Ohmmeter ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเมนต์ (Movement) ตัวเดียวจึงเรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter)
       นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนำไปวัดค่าอื่น ๆ ได้อีก เช่น วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ (hFE) วัดค่าความดัง (Decibel: dB) ฯลฯ ปัจจุบันมัลติมิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ
-         แบบเข็มชี้ (Analog multimeter)
-         แบบตัวเลข (Digital multimeter)
แต่วันนี้เราจะมาสาธิตการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลายโดยใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) แบบตัวเลข (Digital multimeter)ภาพประกอบ
มัลติมิเตอร์ (Multimeter) 

 
พาวเวอร์ซัพพลาย

เรามาเริ่มกันเลยนะคะ

 

เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม แล้วต้องเสียบปลั๊กไฟของพาวเวอร์ซัพพลายด้วยนะคะ 

ส่วนสายสีแดงและสายสีดำเป็นสายที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า สายสีดำจะมีค่าเป็นลบและสานสีแดงจะใช้ค่าเป็นบวก

ทำการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า
ทุกคนกำลังลุ้นช่วยกัน

ได้ค่าเท่าไหร่น๊าาา

แล้วเราก็ผลัดกันวัดค่า ผลัดกันจดค่าคะ

งานกำลังจะเสร็จแล้วนางเลยยิ้มใหญ่เลย 555555


เรามีวิดีโอเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

ค่าบางค่าอาจคาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อยนะคะ ขอบคุณที่ติดตามจนจบนะคะ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ 

บาย บาย แล้วเจอกันใหม่จร้าาาา







วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิวการเปิด - ปิด คอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ด

สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็เจอกันอีกครั้งนะคะ ในวันนี้จะพาเพื่อนๆมาทดลองเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่เปิด ปิดแบบธรรมดาๆนะคะ เราจะมาสาธิตวิธีเปิด ปิดคอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ดวันนี้เราก็คงมีอะไรตื่นเต้นๆมาฝากเพื่อนๆกันอีกแล้วนะคะ ไปดูวิธีทำกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นเราก็แกะอุปกรณ์ทุกชิ้นออกจากเคสก่อนนะคะ และนี้เราก็แกะออกมาหมดแล้วนะคะ
วันนี้กลุ่มเราก็จัดเรียงเป็นระเบียบมากค่ะ (ทุกวันจะกระจัดกระจาย 555555+)

นี้คือหน้าตาของ เมนบอร์ดของเครื่องเราค่ะ

ขั้นตอนนี้เราก็กำลังต่อสายทุกสายให้เหมือนอยู่ในเคส 
เมื่อต่อสายทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องศึกษาวิธีการเปิด-ปิดจาก Data Sheets ของเราค่ะ

วิธีการเปิด-ปิดเครื่อง รีเซ็ตเครื่องของเราจาก Data Sheets ค่ะ

เรามาเริ่มขั้นตอนแรกกันเลยนะคะ

การเปิดเครื่อง
ใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 4 และพินที่ 5 จิ้มค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะทำการเปิดเครื่อง 
 

การรีเซ็ตเครื่อง
ใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 1 และพินที่ 2 จิ้มค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะทำการรีเซ็ตเครื่อง (ขออภัยด้วยนะคะรูปไม่ค่อยชัดเท่าไหร่)
 

การปิดเครื่อง
ใช้ปลายไขควงไปจิ้มค้างไว้ในตำแหน่งพินที่ 4 และพินที่ 5 จิ้มค้างไว้สักครู่ก็จะปิดเครื่องเองค่ะ

และแล้วกลุ่มเราก็สำเร็จ และอยากขอฝากเพื่อนๆว่าการที่เราจะทำอะไรเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเราต้องมีความระมัดระวัง ที่สำคัญมีสติอยู่เสมอค่ะ (เพราะอาจารย์ชอบแกล้งทำให้ตกใจ 55555+)

สมาชิกในกลุ่มของพวกเรา

ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ บ๊าย บาย 


รีวิว ASUS A43SA-VX036D

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมารีวิว ---> ASUS A43SA-VX036D


ASUS A43SA-VX036D เครื่องนี้เป็น Notebook ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียดระดับ HD ที่ 1366 X 768 ภายนอกอาจจะถูกธรรมดา แต่เมื่อเทียบกับสเปคที่ให้มาค่อนข้างแรงเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับราคา









สเปค เครื่อง : ASUS A43SA-VX036D

CPU
Intel Core i5-2430M (2.40 GHz, 3 MB L3 Cache, up to 3.0 GHz)
Graphic system
AMD Radeon HD 6730M (2GB GDDR3)
Display
14 inch WXGA (1366x768) LED
Main Memory
8 GB DDR3
Hard Disk Drive
500 GB 5400 RPM
Optical Drive
DVD Writer (Dual Layer Support)
Web Camera
Web camera 0.3M
USB 2.0
2 Port
USB 3.0
1 Port
Card Reader
3 -in-1 card reader ( SD/ MS/ MMC)
Battery
ใช้ได้ประมาณ 3 ช.ม

ภายในตัวเครื่อง
RAM หน่วยความจำ DDR3 ขนาด 4GB ความเร็ว 1333MHz ยี่ห้อ Transcend
RAM หน่วยความจำ DDR3 ขนาด 4GB ความเร็ว 1333MHz ยี่ห้อ Hynix

ฮาร์ดดิสก์ Western Digital (WDC) WD5000BPVT-8 โดยมีความจุสูงสุดที่ 500GB


สำหรับวิธีการตรวจสอบสเปคเครื่องเราง่ายๆ โดยได้โปรแกรม CPU-Z สามามารถดาวน์โหลดได้ จากลิงค์นี้ http://software.thaiware.com/download.php?id=10107
สำหรับสเปค เครื่อง : ASUS A43SA-VX036D









ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบค่ะ 












วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิวพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็เจอกันอีกครั้งนะคะ ในวันนี้จะพาเพื่อนๆมาเปลี่ยนพัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) กันนะคะ ตอนแรกก็คิดว่าต้องเปลี่ยนยากแน่ๆเลย พอลองทำแล้วเปลี่ยนไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
          ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)  เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันสักหน่อยนะคะ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)  เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
          
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
          ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
          1. AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
          2. ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง 

นี้ก็คือน่าตาของ Power Supply ค่ะ

 
แกะน็อตและฝาครอบออกให้เรียบร้อยก่อนนะค่ะ

 สายต่อพัดลม คือ สายสีแดงและสีดำ เราก็ทำการละลายตะกั่วทั้งสายสีแดงและสีดำเลยนะคะ
เราต้องจำด้วยนะคะ ว่าสายไฟสีไหนอยู่ด้านไหนเพื่อไม่ให้เครื่องเสียหายค่ะ

ละลายตะกั่วเครื่องเราเสร็จแล้วนะคะ

หลังจากที่เราได้เปลี่ยนกับเพื่อนและบัดกรีเข้ากับแผงวงจร 

ตรวจสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ด้วยการใช้แหนบเป็นตัวนำไฟฟ้า 
ปรากฏว่า power supply ใช้งานค่ะ

        เห็นไหมละคะว่าการเปลี่ยน power supply ไม่ยากอย่างที่เราคิดเลย แค่เราทำตามขั้นตอนเราก็สามารถทำการเปลี่ยนเองได้

        ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะคะ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยนะคะ

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ แล้วเจอกันใหม่บล็อคหน้านะคะ